ผอ.3

นายเอกไผท  แก้วหอม

ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดปราสาท

(ปราสาทพิทยา)

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช 2562 เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษก สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร ขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว อย่างสมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณี ซึ่งจะเกิดขึ้นระหว่างวันที่ 4-6 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 ณ พระบรมมหาราชวังเขตพระนครกรุงเทพมหานคร และนับเป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรกในประเทศไทยที่มีการถ่ายทอดผ่านทางสถานีโทรทัศน์ โดยทุกสถานีจะเชื่อมสัญญาณการถ่ายทอดสดจากโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[1]

การเตรียมการ[แก้]

การเตรียมการพระราชพิธีบรมราชาภิเษกสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในครั้งนี้ใช้เวลาประมาณ 5 เดือน นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562 ซึ่งเป็นวันที่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งการพระราชพิธีขึ้น โดยเมื่อวันที่ 26 มกราคม มีการประชุมคณะกรรมการอำนวยการจัดงานพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งแรก โดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธานการประชุมและดำรงตำแหน่งองค์ประธานที่ปรึกษา[2][3], พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ เป็นประธาน ชีพ จุลมนต์ ศาสตราจารย์พิเศษ พรเพชร วิชิตชลชัย เปรม ติณสูลานนท์ เป็นที่ปรึกษาและกรรมการ

ริ้วขบวน[แก้]

ในพระราชพิธีอย่างเป็นทางการจะมี 3 ริ้วขบวน ดังนี้

ตราสัญลักษณ์พระราชพิธี[แก้]

ในวันที่ 11 มีนาคม พ.ศ. 2562 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้แถลงข่าวแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกในครั้งนี้ซึ่งสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาปรุงแบบตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษกด้วยพระองค์เอง และพระราชทานแบบตราสัญลักษณ์พร้อมความหมายเพื่อใช้ในการเผยแพร่งานในครั้งนี้ และยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานแบบเข็มที่ระลึกตราสัญลักษณ์ โดยด้านหน้าเป็นตราสัญลักษณ์ ส่วนด้านหลังมีคำว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พ.ศ. ๒๕๖๒" ซึ่งสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดทำเข็มที่ระลึกขึ้นเพื่อจำหน่าย เพื่อให้ประชาชนได้อัญเชิญไปประดับในช่วงพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และรายได้จากการจำหน่ายเข็มที่ระลึกทั้งหมดหลังหักค่าใช้จ่าย รัฐบาลจะนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวายโดยเสด็จพระราชกุศลตามพระราชอัธยาศัยต่อไป[16]

 

การเตรียมสถานที่และปรับปรุงภูมิทัศน์[แก้]

  • วันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2562 กิจกรรมจิตอาสาปรับปรุงภูมิทัศน์คลองคูเมืองเดิม ถนนอัษฎางค์ และถนนบำรุงเมือง มีหน่วยพระราชทานจิตอาสา ประชาชนจิตอาสา เจ้าหน้าที่กรุงเทพมหานคร กรมป่าไม้ กรมราชทัณฑ์ สมาคมรุกขกรรมไทย และเครือข่ายต้นไม้ในเมืองกว่า 400 คน ระดมอุปกรณ์ เครื่องมือ ไปตัดแต่งกิ่งก้าน และฟื้นฟูต้นไม้ใหญ่ ให้มีทรงพุ่มสวยงาม ตัดกิ่งก้านต้นไม้ตามหลักรุกขกรรม เพื่อให้ต้นไม้ริมคลองคูเมืองเดิมทั้ง 2 ฝั่ง ตั้งแต่หน้าโรงแรมรัตนโกสินทร์ ไปถึงสะพานช้างโรงสี[17]

พิธีการจัดทำน้ำอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก[แก้]

พิธีพลีกรรมตักน้ำ[แก้]

พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัดนนทบุรี

พิธีพลีกรรมตักน้ำเกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีพิธีการในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 25621

  • เวลา 10:00 น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ บริเวณประกอบพิธี อ่านโองการบวงสรวง เพื่อบูชาเทพยดา เทพารักษ์
  • เวลา 11:52 - 12:38 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ใส่ขันสาคร และเคลื่อนขบวนรถไปยังสถานที่ประกอบพิธีทำน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัด (ทั้งนี้ ในจังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดนครนายก จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสระบุรี จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์สำหรับสรงมุรธาภิเษก ปลัดกระทรวงมหาดไทย รองปลัดกระทรวงมหาดไทย และอธิบดีกรมการปกครอง จะเป็นผู้ตักน้ำในส่วนของน้ำสรงมุรธาภิเษก ส่วนจังหวัดที่มีแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์มากกว่า 1 แหล่ง ผู้ว่าราชการจังหวัดจะมอบหมายให้รองผู้ว่าราชการจังหวัดและหัวหน้าส่วนราชการประจำจังหวัดเป็นผู้ตักน้ำในแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในจังหวัด)[19]

พิธีทำน้ำอภิเษกในแต่ละจังหวัด[แก้]

พิธีทำน้ำอภิเษกในแต่ละจังหวัดทั่วประเทศ ยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีพิธีการในวันที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

  • เวลา 15:00 น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ พระอารามหลวงประจำจังหวัด ผู้ว่าราชการจังหวัดจุดธูปเทียนที่หน้าเครื่องสังเวยบูชาฤกษ์
  • เวลา 17:00 น. ประธานสงฆ์ประกาศชุมนุมเทวดาในการพิธีทำน้ำอภิเษก ประธานสงฆ์เจิมเทียนชัย เทียนมงคลและ เทียนพุทธาภิเษก ประธานในพิธีถวายเทียนชนวนแด่ประธานสงฆ์
  • เวลา 17:10 - 22:00 น. ประธานสงฆ์จุดเทียนชัยและเทียนพุทธาภิเษก พระสงฆ์ 30 รูป เจริญพระพุทธมนต์คาถาจุดเทียนชัย โดยก่อนที่พระสงฆ์จะเจริญพระพุทธมนต์ถึงบทไตรสรณคมน์ (พุทธัง) เจ้าหน้าที่จะเชิญประธานพิธีจุดเทียนมงคล เทียนหน้าพระ และเทียนนวหรคุณ เมื่อพระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว ได้นิมนต์พระสงฆ์ลงจากอาสน์สงฆ์ ต่อจากนั้นเจ้าหน้าที่นิมนต์พระสงฆ์เถราจารย์ และพระสวดภาณวารขึ้นอาสน์สงฆ์ ประธานพิธีจุดเทียนทอง เทียนเงิน และธูปเทียนหน้าเตียงพระสวดภาณวาร เจ้าหน้าที่อาราธนาพระสงฆ์สวดภารวาร พระสงฆ์เถราจารย์ และพระสงฆ์สวดภารวาร จะได้ผลัดเปลี่ยนกันนั่งเจริญจิตภาวนาอธิษฐานจิต และสวดภาวนาต่อไปจนถึงเวลาอันสมควร

พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัด[แก้]

พิธีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัดทั่วประเทศยกเว้นกรุงเทพมหานคร มีพิธีการในวันที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2562

  • เวลา 09:00 น. ผู้ร่วมพิธีพร้อมกัน ณ บริเวณประกอบพิธี ผู้ว่าราชการจังหวัดจุดธูปเทียนบูชาพระรัตนตรัย
  • เวลา 10:00 น. พระสงฆ์เถราจารย์ประธานสงฆ์ดับเทียนชัย พระสงฆ์ 30 รูป เจิญพระพุทธมนต์คาถาดับเทียนชัย เจ้าหน้าที่ประโคมฆ้องชัย ดุริยางค์บรรเลงเพลง ประธานสงฆ์เจือน้ำพระพุทธมนต์ในน้ำอภิเษก และมอบให้ประธานพิธี ประธานพิธีตักน้ำอภิเษกใส่คนโท เพื่อเตรียมเชิญไปกระทรวงมหาดไทย
  • เวลา 12:00 น. ตั้งพิธีบายศรีเวียนเทียนสมโภชน้ำอภิเษก บัณฑิตหรือโหรทำพีธีบายศรี และแว่นเวียนเทียน แว่นที่ 1 และส่งให้ประธานพิธี ประธานพิธีรับแว่นเวียนเทียนจากบัณฑิตหรือโหรแล้ววักแว่นที่จุดเทียนแล้วเข้าหาตัว 3 ครั้ง แล้วใช้มือขวาโบกควันออก แล้วส่งต่อให้คนที่อยู่ซ้ายมือ เวียนไปจนครบ 3 ครบ เมื่อครบแล้วคนสุดท้ายส่งให้บัณฑิตหรือโหร ผู้ทำหน้าที่เบิกแว่นเทียน เป็นอันเสร็จพิธี

พิธีเชิญน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัดมารวมที่กระทรวงมหาดไทย[แก้]

พิธีเชิญน้ำอภิเษกของแต่ละจังหวัดมารวมเก็บรักษาไว้ที่กระทรวงมหาดไทย มีพิธีการในวันที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

  • เวลา 07:30 น. ปลัดกระทรวงมหาดไทยเปิดกรวยกระทงดอกไม้ เบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ภายในสถานที่เก็บรักษาคนโทน้ำอภิเษก ณ ห้องดอกแก้ว ศาลาว่าการกระทรวงมหาดไทย
  • เวลา 07:50 น. ผู้ว่าราชการจังหวัดต่าง ๆ เชิญน้ำอภิเษกทยอยเดินทางมาถึงกระทรวงมหาดไทย เจ้าหน้าที่เชิญคนโทลงจากรถ โดยมีผู้บริหารกระทรวงมหาดไทย นำโดยปลัดกระทรวงมหาดไทยตั้งแถวรอรับขบวน จากนั้นผู้ว่าราชการจังหวัดและเจ้าหน้าที่เชิญคนโทน้ำอภิเษกขึ้นไปยังห้องดอกแก้ว ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้นเจ้าหน้าที่เชิญคนโทส่งต่อให้กับผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อวางลงในจุด ถวายความเคารพพระฉายาลักษณ์ และเดินทางกลับ

12 เมษายน[แก้]

พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในกรุงเทพมหานคร ณ หอศาสตราคม ในพระบรมมหาราชวัง

  • เวลา 12:50 น. พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ พระสงฆ์ประพรมน้ำพระพุทธมนต์โดยรอบพระราชฐานชั้นใน ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครซึ่งเป็นประธานในพิธีอธิษฐานจิตพลีกรรมตักน้ำศักดิ์สิทธิ์จากบาตรน้ำมนต์ภายในหอศาสตราคม บรรจุในคนโท จากนั้นเชิญคนโทน้ำศักดิ์สิทธิ์จากหอศาสตราคมขึ้นรถยนต์ประจำตำแหน่ง นำไปวางบนแท่นที่จัดไว้สำหรับกรุงเทพมหานครที่กระทรวงมหาดไทย ร่วมกับคนโทน้ำอภิเษกจาก 76 จังหวัดทั่วประเทศ และน้ำสรงพระมุรธาภิเษกอีก 9 ใบ รวมเป็น 86 ใบ

18 เมษายน[แก้]

  • เวลา 07:00 น. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพ ถวายราชสักการะเบื้องหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จากนั้น เคลื่อนขบวนจากกระทรวงมหาดไทยไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม เพื่อเชิญคนโทน้ำอภิเษกเข้าไปในพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นระยะทาง 740 เมตร และเคลื่อนขบวนกลับกระทรวงมหาดไทย[20]
    ริ้วขบวนอันเชิญคนโทน้ำอภิเษกไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม วันที่ 18 เมษายน พ.ศ. 2562
  • เวลา 15:00 น. กระทรวงมหาดไทยมีการจัดริ้วขบวนเชิญคนโทน้ำอภิเษกจากกระทรวงมหาดไทยไปยังวัดสุทัศนเทพวราราม และ มีการประกอบพิธีเสกน้ำอภิเษกรวม ณ วิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงเป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

 

  • เวลา 17:19 - 21:30 น. พิธีเสกน้ำอภิเษก ประกาศชุมนุมเทวดา ทำน้ำเทพมนต์ เจริญพระพุทธมนต์ และทำน้ำพระพุทธมนต์ ณ พระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม 1
    • สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงจุดเทียนชัย นายกรัฐมนตรีจุดเทียนวิปัสสี เทียนมหามงคล และเทียนมหาหรคุณ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณจุดธูปเทียนบูชาเทพยดา อ่านประกาศชุมนุมเทวดา พระสงฆ์ 68 รูป เจริญพระพุทธมนต์ นายกรัฐมนตรีจุดเทียนที่ครอบสัมฤทธิ์ถวายสมเด็จพระสังฆราช สมเด็จพระสังฆราชทรงโปรยข้าวตอก ดอกไม้ และภายในราชวัติ ทรงประพรมน้ำพระพุทธมนต์ที่คนโทน้ำพระพุทธมนต์ พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณถวายคันประทีป สั่นกระดิ่ง และโปรยข้าวตอก ดอกไม้ที่คนโทน้ำพระพุทธมนต์ จากนั้นนายกรัฐมนตรี ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และประธานศาลฎีกา ร่วมกันถวายจตุปัจจัยไทยธรรม และย่ามปักตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก นายกรัฐมนตรีกรวดน้ำ พระสงฆ์อนุโมทนา ถวายอดิเรก นายกรัฐมนตรีไปยังหน้าพระสวดภาณวาร จุดเทียนทอง-เงิน และเครื่องบูชากระบะมุก จุดเทียนพุทธาภิเษกข้างตู้เทียนชัยแล้วเดินทางกลับ จากนั้นในเวลา 20:10 น. สมเด็จพระพุฒาจารย์ (สนิท ชวนปญฺโญ) วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร เดินทางถึงพระวิหารหลวง แล้วเดินไปยังตู้เทียนชัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย ถวายใบพลูแด่สมเด็จพระพุฒาจารย์ และในเวลา 20:19 น. สมเด็จพระพุฒาจารย์บริกรรมคาถาและดับเทียนชัย[20]

19 เมษายน[แก้]

  • เวลา 6:45 น. เชิญคนโทน้ำอภิเษกออกจากพระวิหารหลวง วัดสุทัศนเทพวราราม และเคลื่อนริ้วขบวนเข้าสู่ประตูสวัสดิโสภา หน้าพระบรมมหาราชวัง เมื่อถึงประตูสวัสดิโสภา ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด เชิญพานพุ่มทอง-พานพุ่มเงิน ถวายราชสักการะหน้าพระฉายาลักษณ์สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบริเวณกำแพงพระบรมมหาราชวัง จากนั้น คณะผู้บริหารของกระทรวงมหาดไทยวางพานกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพและเปิดกรวยกระทงดอกไม้ธูปเทียนแพตามลำดับ แล้วเชิญคนโทน้ำอภิเษกไปวางในพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม แล้วเคลื่อนขบวนกลับกระทรวงมหาดไทย[20]

22 เมษายน[แก้]

  • เวลา 15:50 น. พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ ณ พระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    • พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ ผู้แทนพระองค์ เสด็จโดยรถยนต์พระประเทียบมายังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จากนั้นเสด็จเข้าพระอุโบสถ ทรงจุดธูปเทียนเครื่องนมัสการบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ทรงกราบ จากนั้นถวายความเคารพพระราชอาสน์ ประทับพระเก้าอี้ ทรงศีล เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาอาราธนาพระปริตร พระสงฆ์ 10 รูป เจริญพระพุทธมนต์ เมื่อถึงบทเสกน้ำพระพุทธมนต์ ผู้แทนพระองค์ทรงจุดเทียนที่ฝาครอบพระกริ่ง จากนั้น เจ้าพนักงานพระราชพิธีเชิญครอบพระกริ่งไปตั้งที่หน้าประธานสงฆ์ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงประเคนครอบพระกริ่งแด่ประธานสงฆ์ ประทับพระเก้าอี้ ณ ที่เดิม พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงประเคนผ้าไตรแด่พระสงฆ์ 10 รูป ประทับพระเก้าอี้ที่เดิม ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก แล้วออกจากพระอุโบสถ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงกราบเครื่องนมัสการ ถวายความเคารพพระราชอาสน์แล้วเสด็จกลับ[21]

23 เมษายน[แก้]

  • เวลา 8:19 - 11:35 น. จารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพ แกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล และจารึกพระสุพรรณบัฏพระบรมวงศ์ ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
    • สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พลเรือเอก หม่อมเจ้าปุสาณ สวัสดิวัตน์ เสด็จแทนพระองค์โดยรถยนต์พระประเทียบมายังพระอุโบสถ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ทรงจุดธูปเทียนบูชาพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ผู้แทนพระองค์ถวายความเคารพพระราชอาสน์ ประทับพระเก้าอี้ โหรหลวงผู้จารึกดวงพระบรมราชสมภพ, ช่างศิลป์ประจำพระองค์ผู้แกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล พร้อมเจ้าพนักงานอาลักษณ์ผู้จารึกพระสุพรรณบัฏ เข้าไปกราบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร แล้วหันหน้าสู่พระราชอาสน์ ถวายบังคม คำนับผู้แทนพระองค์ แล้วไปนั่งประจำโต๊ะตามหน้าที่ เจ้าหน้าที่กรมการศาสนาอาราธนาศีล ประธานสงฆ์ถวายศีล จบแล้วผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงจุดเทียนบนโต๊ะทำพิธี เจ้าพนักงานอาลักษณ์นำสายสิญจน์คล้องคอ
    • เวลา 09.49 น. พนักงานอาลักษณ์เริ่มจารึกพระสุพรรณบัฏ โหรหลวงเริ่มจารึกดวงพระบรมราชสมภพ และช่างศิลป์ประจำพระองค์เริ่มแกะพระราชลัญจกรประจำรัชกาล ขณะนั้นพระสงฆ์ 10 รูปเจริญชัยมงคลคาถา โหรหลวงลั่นฆ้องชัย พราหมณ์เป่าสังข์ ภูษามาลาแกว่งบัณเฑาะว์ ชาวพนักงานประโคมสังข์ แตร ดุริยางค์ เมื่อเสร็จพิธีแล้วนำสายสิญจน์คล้องคอออก พระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณถวายน้ำเทพมนตร์ เจิมดวงพระบรมราชสมภพ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลและพระสุพรรณบัฏ เสร็จแล้วโหรหลวงพับแผ่นดวงพระราชสมภพ พันด้วยไหมเบญจพรรณ และเจ้าพนักงานอาลักษณ์เชิญพระสุพรรณบัฏห่อผ้าแพรแดง ช่างศิลป์ประจำพระองค์บรรจุพระราชลัญจกรประจำรัชกาลลงในถุงแพรแดง แล้วเชิญดวงพระบรมราชสมภพ พระราชลัญจกรประจำรัชกาล และพานพระสุพรรณบัฏไปวางไว้ที่เหนือธรรมาสน์ศิลา แล้วเข้าไปกราบพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร ถวายบังคมพระราชอาสน์ คำนับผู้แทนพระองค์ แล้วไปนั่งเก้าอี้ พระสงฆ์ 10 รูปถวายพรพระ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงประเคนสำรับภัตตาหารแด่พระสงฆ์ เมื่อพระสงฆ์รับพระราชทานฉันเสร็จแล้ว ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงประเคนจตุปัจจัยไทยธรรมแด่พระสงฆ์ ประทับพระเก้าอี้ ณ ที่เดิม ทรงกรวดน้ำ พระสงฆ์ถวายอนุโมทนา ถวายอดิเรก ออกจากพระอุโบสถ เจ้าพนักงานตั้งบายศรี พราหมณ์เบิกแว่นเวียนเทียนสมโภช ข้าราชการรับแว่นเวียนเทียนสมโภชดวงพระบรมราชสมภพ พระราชลัญจกรประจำรัชกาล และพระสุพรรณบัฏ 3 รอบ จากนั้นพระมหาราชครูพิธีศรีวิสุทธิคุณเจิมดวงพระบรมราชสมภพ พระราชลัญจกรประจำรัชกาลและพระสุพรรณบัฏ ผู้แทนพระองค์เสด็จไปทรงกราบเครื่องนมัสการ ถวายความเคารพพระราชอาสน์แล้วเสด็จกลับ[22]

2 พฤษภาคม[แก้]

  • เวลา 16:09 - 20:30 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พร้อมด้วย สมเด็จพระราชินีสุทิดา และ พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จพระราชดำเนินไปทรงถวายราชสักการะปฐมบรมราชานุสรณ์ สะพานพระพุทธยอดฟ้า พระบรมราชานุสรณ์ พระลานพระราชวังดุสิต ศาลหลักเมืองกรุงเทพมหานคร และเสด็จพระราชดำเนินบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพระบรมมหาราชวัง

3 พฤษภาคม[แก้]

  • มีการแบ่งพิธีออกเป็น 3 ช่วง ดังนี้
      http://www.w3.org/2000/svg%22 width=%225%22 height=%2213%22%3E %3Ccircle cx=%222.5%22 cy=%229%22 r=%222.5%22 fill=%22%23222%22/%3E %3C/svg%3E");">
    • เวลา 10:00 น. เชิญพระสุพรรณบัฏ ดวงพระราชสมภพและพระราชลัญจกรจากวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ไปยังพระที่นั่งไพศาลทักษิณ
    • เวลา 16:00 น. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินไปทรงนมัสการพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร นมัสการพระรัตนตรัย ณ วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ถวายบังคมพระบรมอัฐิและพระอัฐิ
    • เวลา 16:19 - 18:00 น. จุดเทียนชัย พระสงฆ์ประกาศการพระราชพิธีบรมราชาภิเษก และเจริญพระพุทธมนต์


หมายเหตุ 1หมายกำหนดการพระราชพิธีหรือพิธีที่เป็นตัวหนา มีการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย[23]

พระราชพิธีบรมราชาภิเษกอย่างเป็นทางการ[แก้]

พระราชพิธีทั้งหมดดังต่อไปนี้มีการถ่ายทอดสดผ่านทางโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยทั้งหมด[23]

4 พฤษภาคม[แก้]

5 พฤษภาคม[แก้]

6 พฤษภาคม[แก้]

พระราชพิธีเบื้องปลาย[แก้]

หลังพระราชพิธี[แก้]

  • พิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวายพระพรชัยมงคลเฉลิมพระเกียรติ ฯ วันที่ 7 พฤษภาคม พ.ศ. 2562 เวลา 17.00 น. พร้อมกันทั่วประเทศ ตามบทสวดมนต์ที่กำหนด ส่วนกลาง จัดพิธี ณ วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ส่วนภูมิภาค จัดพิธี ณ วัดที่จังหวัดกำหนด[30]
  • การแสดงมหรสพสมโภช เฉลิมฉลองพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ทั่วประเทศ ระหว่างวันที่ 22 - 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2562[31]

แหล่งข้อมูลอื่น[แก้]

  • เว็บไซต์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก
  • พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ที่เฟซบุ๊ก

กิจกรรม (Photo Album)

480643
Today
Yesterday
This Week
Last Week
This Month
Last Month
All days
334
342
957
476479
9676
31178
480643

Your IP: 3.17.28.48
2024-04-17 05:56

ปรัชญา

Method6

คำขวัญ

Method5

เอกลักษณ์

Method4